วศ.บ. วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (ปรับปรุง พ.ศ. 2563)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณทิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์

(Bacherlor of Engineering Program in Mechatronics Engineering)

 

ชื่อหลักสูตร

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
วศ.บ. (วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์)

Bachelor of Engineering Program in Mechanical Engineering
B.Eng. (Mechatronics Engineering)

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (PLOs) <<< คลิก>>>

ระยะเวลาในการศึกษา

– ระยะเวลาในการศึกษา 4 ปี (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 หรือ ปวช.)

– ระยะเวลาในการศึกษา 3 ปี (ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส.)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 (วิทย์ – คณิต หรือ ศิลป์-คำนวณ)

2. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. สาขาช่างอุตสาหกรรม หรือเทียบเท่า

3. ผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. สาขาช่างยนต์ ช่างเทคนิคยานยนต์ ช่างเมคคาทรอนิกส์ ช่างไฟฟ้ากำลัง หรือสาขาช่างอุตสาหกรรม หรือเทียบเท่า *

* กรณีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส.  จะเข้าศึกษาด้วยวิธีการเทียบโอนผลการเรียน ซึ่งสามารถเรียนจบได้ภายในเวลา 3 ปี 

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ภาคการศึกษาปกติ      เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 10,150  บาท

ภาคการศึกษาฤดูร้อน  เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ  3,500  บาท

รายวิชาสหกิจศึกษา     เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ  7,500  บาท

รวมตลอดหลักสูตร 78,550 บาท

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

1. วิศวกรในหน่วยงานเอกชน – โรงงานอุตสาหกรรม ในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น

>> วิศวกรเมคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineer) วิศวกรซ่อมบำรุง (Maintenance Engineer) วิศวกรการผลิต (Production Engineer) วิศวกรคุณภาพ (Quality Engineer) วิศวกรออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ แขนกล ระบบอัตโนมัติ กระบวนการผลิต ในภาคอุตสหกรรมด้านต่างๆ และอุตสาหกรรม 4.0 ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น รวมถึงเป็นวิศวกรควบคุมและบริหารจัดการระบบ อุปกรณ์ เครื่องจักรกลระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ในงานอุตสหกรรม เป็นนักวิเคราะห์ บริการจัดการ หรือออกแบบระบบงานด้านวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรมและเกษตรสมัยใหม่ตลอดทั้งงานให้คำปรึกษาในการผลิตและลดต้นทุน

2. วิศวกรเครื่องกลในหน่วยงานภาครัฐ – รัฐวิสาหกิจ ในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น

>> กรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม
>> กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม / สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
>> กรมท่าอากาศยาน
>> การไฟฟ้าฝ่ายผลิต / การประปาส่วนภูมิภาค

3. เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลาง – ขนาดย่อม (SMEs) นักประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่และการเกษตรอัจฉริยะ ประกอบอาชีพอิสระ และเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่าง ๆ

 

 

 

สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรสิทธิ์ พ่อค้า
โทรศัพท์ : 081-545-3166
E-mail : surasit_ksc@hotmail.com

 

รองศาสตราจารย์ ดร. เกยูร ดวงอุปมา
โทรศัพท์ : 093-327-2292
E-mail : keyoon.du@ksu.ac.th

แก้ไขข้อมูลเมื่อ 1 มิถุนายน 2566